คอนโดหรืออาคารชุด น่าจะเป็นความหมายเดียวกัน และเมื่ออาคารชุดได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลอาคารชุดแล้ว มักมีปัญหาเรื่องค่าส่วนกลาง ซึ่งปัญหาต่างๆ เกิดจากความไม่เข้าใจกฎหมายนิติบุคคลอาคารชุดของเจ้าของร่วม หรือผู้ที่มีผลกระทบโดยตรงในส่วนของค่าใช้จ่ายที่ต้องร่วมกันออก โดยประสงค์ให้สภาพของอาคารชุดได้มีผู้รับผิดชอบดูแล ให้สวยงามน่าอยู่น่าอาศัย เหมือนตอนแรกที่เข้ามาอยู่
เมื่อตอนซื้ออาคารชุดจากเจ้าของโครงการ สำหรับโครงการบ้านเอื้ออาทร ผู้ซื้อได้ซื้อกับการเคหะแห่งชาติ เนื่องจากเป็นในส่วนของรัฐที่ต้องการช่วยเหลือประชาชนให้มีที่อยู่อาศัย ราคาจึงไม่แพง มากเกินไปแต่เงื่อนไข คือถึงแม้ราคาไม่แพง แต่บริการทุกอย่างต้องมีให้เหมือนๆกันกับมาตรฐานอาคารชุด และการทำสัญญาจะซื้อจะขาย การเคหะแห่งชาติจะเป็นผู้ค้ำประกันกับธนาคารให้แก่ผู้ซื้อ 5 ปี นั่นคือถึงแม้ว่าผู้ซื้อจะเป็นผู้จ่ายเงินแต่การทำสัญญานั้นการเคหะแห่งชาติยังคงเป็นเจ้าของห้องชุดนั้นจนกว่าจะได้โอนกรรมสิทธิ์ ผู้ซื้อจึงมิได้เป็นเจ้าของห้องชุดตามสัญญาจะซื้อจะขาย เมื่อครบ5 ปี การเคหะแห่งชาติจะได้โอนกรรมสิทธิ์
ตลอดระยะเวลา 5 ปี ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากส่วนกลางต่างๆภายในโครงการ การเคหะแห่งชาติจึงเป็นผู้รับผิดชอบ นอกจากค่าใช้จ่ายที่เกิดจากผู้ซื้อเอง
เมื่อครบสัญญา 5 ปี มีการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด ตามกฎหมายนิติบุคคลอาคารชุด กำหนดให้จดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด เมื่อมีผู้โอนกรรมสิทธิ์
การจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด เมื่อมีผู้โอนกรรมสิทธิ์ เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดจากส่วนกลางนั่นเอง
เรามาทำความเข้าใจกันว่าถ้าไม่จ่ายค่าส่วนกลางแล้วจะเกิดอะไรhttp://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9570000027713
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น