วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559

ค่านิยมหลัก 12 ประการ


  1. มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
  2. ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน
  3. กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
  4. ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
  5. รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย
  6. มีศีลธรรม รักษาความสัตย์
  7. เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย
  8. มีระเบียบ วินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
  9. มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ
  10. รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  11. มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ
  12. คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง

คนดีไม่ซื้อสิทธิ์ คนสุจริตไม่ขายเสียง

กกต.ย่อมาจาก คณะกรรมการการเลือกตั้ง ( Election Commission of Thailand: ECT ) เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่หลักในการเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา รวมทั้งการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่สืบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาด ปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติหรือกฏหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น

อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง

  1. เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
  2. สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ หรือนับคะแนนใหม่
  3. สั่งให้ชดใช้ค่าเสียหายในการเลือกตั้ง
  4. ดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
  5. เสนอยุบพรรคการเมืองที่กระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้ง
ประชาชนควรรู้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดว่า บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งบุคคลซึ่งไม่ไปเลือกตั้ง โดยไม่แจ้งเหตุอันควรที่ทำให้ไม่อาจไปเลือกตั้งได้ ย่อมเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ
พบเหตุทุจริต
แจ้งเบาะแส หรือร้องเรียนได้ที่
  • สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ทุกจังหวัด
  • สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
    • อาคารรวมหน่วยราชการ บี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพ 10210
  • สายด่วนเลือกตั้ง 1171
  • เบอร์โทรศัพท์หน่วยปฏิบัติการข่าว 02-143-8535
  • Application : ตาสับปะรด
ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะเสียสิทธิทางการเมือง
  1. กรณีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น
    • เสียสิทธิ์ยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น
    • เสียสิทธิ์ร้องคัดค้านการเลือกกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
    • เสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
    • เสียสิทธิรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
    • เสียสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
    • เสียสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
  2. กรณีเลือกตั้งระดับชาติ
    • เสียสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
    • เสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งและสิทธิได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
    • เสียสิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฏหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
โทษตามกฏหมาย
หากบุคคลใดกระทำความผิดกฏหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง จะมีโทษตามกฏหมายซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
  1. โทษทางอาญา ได้แก่
    • โทษจำคุก ซึ่งมีอัตราโทษสูงสุดเป็นเวลา 10 ปี
    • โทษปรับ ซึ่งมีอัตราโทษสูงสุดปรับไม่เกิน 200,000 บาท
    กระบวนการในการลงโทษผู้กระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้ง คือ จะต้องมีการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน และสรุปสำนวนส่งพนักงานอัยการเพื่อสั่งฟ้องคดีต่อศาล

  2. โทษทางการเมือง
หากมีการกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้ง ผู้กระทำอาจถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจพิจารณาสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 1 ปี ส่วนศาลมีอำนาจพิจารณาสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งระดับท้องถิ่นเป็นเวลา 1 ปี และการเลือกตั้งระดับชาติเป็นเวลา 5 ปี ตามคำร้อง ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และศาลมีอำนาจพิพากษาสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งสูงสูดเป็นเวลา 10 ปี ตามกระบวนการยุติธรรมปกติ
เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
ผลของการถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง เช่น

  1. ถูกระงับหรือยกเลิกมิให้ใช้สิทธิในการเลือกตั้งทั้งระดับชาติ ระดับท้องถิ่น รวมถึงการเลือกผู้ใหญ่บ้าน
  2. ถูกระงับหรือยกเลิกมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งทั้งระดับชาติ ระดับท้องถิ่น รวมถึงการรับเลือกผู้ใหญ่บ้าน
  3. ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจะต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น ห้ามเป็นรัฐมนตรี รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองนายกเทศมนตรี รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น
  4. ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งระหว่างดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะต้องพ้นจากตำแหน่งนั้นๆ
  5. ถูกระงับหรือยกเลิกสิทธิอื่นๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติ 
อนึ่งสิทธิต่างๆ ที่เสียไประหว่างถูกเพิกถอนจะกลับคืนมาเมื่อพ้นระยะเวลาตามที่ถูกสั่งเพิกถอน

ซื้อเสียง
การซื้อเสียงมีความผิดและต้องรับโทษทางกฎหมาย กล่าวคือ เมื่อมีการเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือหัวคะแนนนำเงินมาแจกให้แก่ท่าน เพื่อให้ท่านลงคะแนนให้แก่ผู้ที่แจกเงินนั้น ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือหัวคะแนนก็จะมีความผิด และต้องรับโทษตามกฏหมาย
โทษตามกฎหมาย คือ จำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี
ขายเสียง
การเรียกรับหรือยอมจะรับเงินมีความผิด และต้องรับโทษทางกฎหมาย กล่าวคือ เมื่อมีการเลือกตั้ง หากท่านบอกกับผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือตัวแทน (หัวคะแนน) ว่าถ้าอยากจะให้ท่านลงคะแนนเลือกตั้งต้องนำเงินมามอบให้แก่ท่าน หรือเมื่อตัวแทน(หัวคะแนน) นำเงินหรือทรัพย์สินมาเสนอให้หรือมอบให้ เพื่อให้ลงคะแนนให้ผู้สมัครใด หากท่านรับหรือยอมจะรับเงินหรือทรัพย์สินนั้น การกระทำของท่านเป็นความผิด และต้องรับโทษตามกฎหมาย
โทษตามกฎหมาย คือ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พยานเท็จ
การเป็นพยานเท็จ กล่าวคือ เมื่อมีการเลือกตั้ง ท่านพูด หรือทำอะไรที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น บอกว่าเขาพูดใส่ร้าย แต่ความจริงแล้วเขาไม่ได้พูดเลย เพื่อต้องการให้เขาต้องรับโทษ ดังนี้ การกระทำของท่านเป็นความผิด และต้องรับโทษตามกฏหมาย
โทษตามกฎหมาย คือ จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40.000 บาท และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
กลั่นแกล้งใส่ร้ายผู้สมัคร
การกระทำอันเป็นเท็จเพื่อกลั่นแกล้ง กล่าวคือ เมื่อม่การเลือกตั้ง ท่านพูดหรือทำอะไร ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น ไม่เห็นเขาแจกเงิน แต่บอกว่าเห็นเขาแจกเงิน เพื่อต้องการให้เขาต้องรับโทษ ดังนี้ การกระทำของท่านเป็นความผิด และต้องรับโทษตามกฏหมาย
โทษตามกฎหมาย คือ จำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 200,000 บาท และเพิกถอนสิทธิ 10 ปี
กลับคำให้การ
การกลับคำให้การ กล่าวคือ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ภายหลังจากที่ท่านได้ให้การแล้ว หากท่านกลับคำให้การใหม่ผิดไปจากเดิม อันเป็นเท็จ ดังนี้ การกระทำของท่านเป็นความผิด และต้องรับโทษตามกฎหมาย
โทษตามกฎหมาย คือ จำคุกตั้งแต่ 7 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 บาทถึง 200,000 บาท และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 20 ปี

ที่มา: คู่มือเผยแพร่ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง