- มีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
- ซื่อสัตย์ เสียสละ อดทน
- กตัญญูต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์
- ใฝ่หาความรู้ หมั่นศึกษาเล่าเรียนทั้งทางตรง และทางอ้อม
- รักษาวัฒนธรรมประเพณีไทย
- มีศีลธรรม รักษาความสัตย์
- เข้าใจเรียนรู้การเป็นประชาธิปไตย
- มีระเบียบ วินัย เคารพกฎหมาย ผู้น้อยรู้จักการเคารพผู้ใหญ่
- มีสติรู้ตัว รู้คิด รู้ทำ
- รู้จักดำรงตนอยู่โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- มีความเข้มแข็งทั้งร่างกาย และจิตใจ ไม่ยอมแพ้ต่ออำนาจฝ่ายต่ำ
- คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ของตนเอง
นิติบุคคลอาคารชุดบ้านเอื้ออาทรคลองถนน
เรียนรู้กฎหมายนิติบุคคลอาคารชุด
วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2559
ค่านิยมหลัก 12 ประการ
คนดีไม่ซื้อสิทธิ์ คนสุจริตไม่ขายเสียง
กกต.ย่อมาจาก คณะกรรมการการเลือกตั้ง ( Election Commission of Thailand: ECT ) เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่หลักในการเป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัด หรือจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา รวมทั้งการออกเสียงประชามติให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม
คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่สืบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาด ปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติหรือกฏหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่สืบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาด ปัญหาหรือข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติหรือกฏหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
- เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
- สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่ หรือนับคะแนนใหม่
- สั่งให้ชดใช้ค่าเสียหายในการเลือกตั้ง
- ดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
- เสนอยุบพรรคการเมืองที่กระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้ง
ประชาชนควรรู้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดว่า บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งบุคคลซึ่งไม่ไปเลือกตั้ง โดยไม่แจ้งเหตุอันควรที่ทำให้ไม่อาจไปเลือกตั้งได้ ย่อมเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ
พบเหตุทุจริต
แจ้งเบาะแส หรือร้องเรียนได้ที่
- สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ทุกจังหวัด
- สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
- อาคารรวมหน่วยราชการ บี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพ 10210
- สายด่วนเลือกตั้ง 1171
- เบอร์โทรศัพท์หน่วยปฏิบัติการข่าว 02-143-8535
- Application : ตาสับปะรด
ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะเสียสิทธิทางการเมือง
- กรณีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น
- เสียสิทธิ์ยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น
- เสียสิทธิ์ร้องคัดค้านการเลือกกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
- เสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
- เสียสิทธิรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
- เสียสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
- เสียสิทธิเข้าชื่อร้องขอให้ถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการลงคะแนนเสียงเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
- กรณีเลือกตั้งระดับชาติ
- เสียสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
- เสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งและสิทธิได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
- เสียสิทธิสมัครรับเลือกเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามกฏหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
โทษตามกฏหมาย
หากบุคคลใดกระทำความผิดกฏหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้ง จะมีโทษตามกฏหมายซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
- โทษทางอาญา ได้แก่
- โทษจำคุก ซึ่งมีอัตราโทษสูงสุดเป็นเวลา 10 ปี
- โทษปรับ ซึ่งมีอัตราโทษสูงสุดปรับไม่เกิน 200,000 บาท
- โทษทางการเมือง
กระบวนการในการลงโทษผู้กระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้ง คือ จะต้องมีการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ และให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน และสรุปสำนวนส่งพนักงานอัยการเพื่อสั่งฟ้องคดีต่อศาล
หากมีการกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้ง ผู้กระทำอาจถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจพิจารณาสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นเวลา 1 ปี ส่วนศาลมีอำนาจพิจารณาสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งระดับท้องถิ่นเป็นเวลา 1 ปี และการเลือกตั้งระดับชาติเป็นเวลา 5 ปี ตามคำร้อง ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง และศาลมีอำนาจพิพากษาสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งสูงสูดเป็นเวลา 10 ปี ตามกระบวนการยุติธรรมปกติ
เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
ผลของการถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง เช่น
- ถูกระงับหรือยกเลิกมิให้ใช้สิทธิในการเลือกตั้งทั้งระดับชาติ ระดับท้องถิ่น รวมถึงการเลือกผู้ใหญ่บ้าน
- ถูกระงับหรือยกเลิกมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งทั้งระดับชาติ ระดับท้องถิ่น รวมถึงการรับเลือกผู้ใหญ่บ้าน
- ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจะต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น ห้ามเป็นรัฐมนตรี รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองนายกเทศมนตรี รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นต้น
- ผู้ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งระหว่างดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะต้องพ้นจากตำแหน่งนั้นๆ
- ถูกระงับหรือยกเลิกสิทธิอื่นๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
อนึ่งสิทธิต่างๆ ที่เสียไประหว่างถูกเพิกถอนจะกลับคืนมาเมื่อพ้นระยะเวลาตามที่ถูกสั่งเพิกถอน
ซื้อเสียง
การซื้อเสียงมีความผิดและต้องรับโทษทางกฎหมาย กล่าวคือ เมื่อมีการเลือกตั้ง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือหัวคะแนนนำเงินมาแจกให้แก่ท่าน เพื่อให้ท่านลงคะแนนให้แก่ผู้ที่แจกเงินนั้น ผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือหัวคะแนนก็จะมีความผิด และต้องรับโทษตามกฏหมาย
โทษตามกฎหมาย คือ จำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี
ขายเสียง
การเรียกรับหรือยอมจะรับเงินมีความผิด และต้องรับโทษทางกฎหมาย กล่าวคือ เมื่อมีการเลือกตั้ง หากท่านบอกกับผู้สมัครรับเลือกตั้ง หรือตัวแทน (หัวคะแนน) ว่าถ้าอยากจะให้ท่านลงคะแนนเลือกตั้งต้องนำเงินมามอบให้แก่ท่าน หรือเมื่อตัวแทน(หัวคะแนน) นำเงินหรือทรัพย์สินมาเสนอให้หรือมอบให้ เพื่อให้ลงคะแนนให้ผู้สมัครใด หากท่านรับหรือยอมจะรับเงินหรือทรัพย์สินนั้น การกระทำของท่านเป็นความผิด และต้องรับโทษตามกฎหมาย
โทษตามกฎหมาย คือ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
พยานเท็จ
การเป็นพยานเท็จ กล่าวคือ เมื่อมีการเลือกตั้ง ท่านพูด หรือทำอะไรที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น บอกว่าเขาพูดใส่ร้าย แต่ความจริงแล้วเขาไม่ได้พูดเลย เพื่อต้องการให้เขาต้องรับโทษ ดังนี้ การกระทำของท่านเป็นความผิด และต้องรับโทษตามกฏหมาย
โทษตามกฎหมาย คือ จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40.000 บาท และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี
กลั่นแกล้งใส่ร้ายผู้สมัคร
การกระทำอันเป็นเท็จเพื่อกลั่นแกล้ง กล่าวคือ เมื่อม่การเลือกตั้ง ท่านพูดหรือทำอะไร ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น ไม่เห็นเขาแจกเงิน แต่บอกว่าเห็นเขาแจกเงิน เพื่อต้องการให้เขาต้องรับโทษ ดังนี้ การกระทำของท่านเป็นความผิด และต้องรับโทษตามกฏหมาย
โทษตามกฎหมาย คือ จำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 บาท ถึง 200,000 บาท และเพิกถอนสิทธิ 10 ปี
กลับคำให้การ
การกลับคำให้การ กล่าวคือ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่สอบสวนความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ภายหลังจากที่ท่านได้ให้การแล้ว หากท่านกลับคำให้การใหม่ผิดไปจากเดิม อันเป็นเท็จ ดังนี้ การกระทำของท่านเป็นความผิด และต้องรับโทษตามกฎหมาย
โทษตามกฎหมาย คือ จำคุกตั้งแต่ 7 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 บาทถึง 200,000 บาท และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 20 ปี
ที่มา: คู่มือเผยแพร่ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)